top of page

ทุกอย่างของเรา
"เริ่มต้นขึ้น"
จากจุดเริ่มต้น "เดียวกัน"
และนี่คือ เรื่องราวของเรา

2563/2020

เพราะรายการ รายการนั้น ทำให้เราได้ "เริ่มต้น"

เรื่องที่น่าบังเอิญว่า สิ่งที่ทำให้ผมและนน มาเจอกัน และมาร่วมงานกันจนถึงทุกวันนี้
เป็นเพราะรายการโทรทัศน์ รายการหนึ่งของ บมจ. เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เหมือนกัน และเป็นรายการเดียวกัน ซึ่งรายการนั้น มีชื่อว่า "LODI X NEXT IDOL" เป็นรายการประกวดแข่งขันระหว่างศิลปินไอดอล "รายการแรกของประเทศไทย"
ที่ถึงแม้ว่า รายการจะทำออกมาได้... (อืม... หลายคนก็ไม่อยากจำ หรือปล่อยจอยตั้งแต่แรก แต่เรา "ไม่" ถึงแม้ว่าในทุกวันนี้ เราพยายามมูฟออนไปแล้ว แต่บางครั้ง หากเรายังต้องพูดถึง เราจะไม่ได้พูดถึงตรงๆ แต่จะใช้วิธีการเอ่ยถึงในทางอ้อม ด้วยคำว่า "รายการนั้น" เพราะคงเป็นสิ่งที่หลายคนคงไม่อยากจำ เพราะตอนเพียงตอนเดียว) แต่เพราะความน่าสนใจ ทำให้ผมตัดสินใจ "ทำรายการสรุปเนื้อหารายการ ในรูปแบบ พอดแคสต์วิดีโอ" โดยการนำคำว่า LODI X ตัดตัว X ออก มาต่อกับคำว่า CAP ที่มาจาก Recap บวกกับไม่รู้จะหาคำว่าอะไรมาห้อยท้าย เลยเอาคำว่า Game of Idols (คุ้นๆ แฮะ) มาต่อท้าย เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ LodiCap Game of Idols และเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริง ของ LodiCap PCST นี่เอง

แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน ผมพบว่า

"จริงๆ แล้ว เราไม่ใช่ผู้เดียวในจักรวาล ที่ทำรายการพอดแคสต์สรุปรายการนี้"

นอกจากพี่ OTA MAN ที่ทำเรื่องนี้แล้ว ยังมีหนึ่งใน(ตอนนั้นผมเข้าใจว่า)คู่แข่ง ที่ทำรายการคล้ายๆ กันกับของเรานี้ แต่ "ทำในแบบเสียง" ซึ่งผู้นั้น ก็คือ นน Nited Idols หรือชื่อเดิม คือ Nitedgags Production (อย่างเก่า) แต่... (ดูธีมเอานะครับ)

2564/2021

มกราคม : โคจรมาเจอกัน

แม้ว่าจริงๆ แล้ว เราสองคนจะเป็นคนที่ตามไอดอลมาในช่วงเวลาหนึ่งก่อนหน้ารายการนี้แล้ว แต่เพราะ LODI X NEXT IDOL ทำให้เราได้มาเจอกัน และเข้าสู่การทำคอนเทนต์ร่วมกัน โดยเริ่มจาก

และในคืนรอบชิงชนะเลิศ เราทั้งสองคนได้มา LIVE สดๆ ดูสด คุยสด รีแอคชั่นกัน สดๆ ไปพร้อมๆ กัน

และนี่แหละครับ คือ

 

"ปฐมบทของการ รวมกันมันส์กว่า(ไม่ใช่โซดา)"

เพราะต่อจากนั้น เราก็ได้มาทำคอนเทนต์ร่วมกันตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้

เมษายน : ก้าวสู่ความเป็น "พอดแคสต์"

หลังจากที่เราอยู่กับการทำพอดแคสต์ในยูทูปมาประมาณหนึ่ง 29 เมษายน ผมได้นำ LodiCap Game of Idols ลงสู่ระบบของ Spotify for Podcasters (Anchor เดิม) ทำให้พอดแคสต์ของเรา สามารถรับฟังในรูปแบบของ "พอดแคสต์จริงๆ" ได้สักที ผ่านช่องทางของ Spotify, Apple Podcasts, Google Podcasts และช่องทางอื่นๆ ที่สามารถไปถึงได้ โดยเดิมที ใช้ชื่อพอดแคสต์ในระยะแรกว่า LodiCap Game of Idols ก่อนที่ต่อมา จะเปลี่ยนเป็น LodiCap Podcast

พฤศจิกายน : เริ่มต้นแบรนด์ LodiCap Podcast
อย่างเป็นทางการ

การเริ่มต้นนี้ เราเริ่มต้นที่การใช้โลโก้ของพอดแคสต์ เป็นคำว่า LODICAP PODCAST ที่ตัวอักษรคำว่า LODICAP เป็นรูปของสถานที่แข่งขัน รายการ LODI X NEXT IDOL (โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเณศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน) ซึ่งเป็นรูปที่ผม "ถ่ายไว้ด้วยตัวเอง" และนอกจกนี้ ยังมี Jingle ตัวแรกอย่างเป็นทางการ ที่ผมเลือกใช้ RAVE ในการ Mashup เพลงธีมของ LODI X กับ Lookin Lookin ของ 4EVE (ซึ่งก็เป็นเพลงธีมของ 4EVE Girl Group Star อีกด้วย) พร้อมกับ Hashtag ที่เป็นสโลแกนของพอดแคสต์ว่า

#NOTJUSTLODIX
เพราะที่นี่ ไม่ได้มีแค่ LODI X อีกต่อไป

2565/2022

กุมภาพันธ์ : ปิ๊งไอเดียทำรายการใหม่

จริงๆ แล้ว เรื่องนี้ต้องย้อนไปเดือนมกราคม นน ทำรีวิวสั้น เพลง Hurricane ของ Shining Stars ออกมา ทำให้ผมรู้สึกว่าปิ๊งไอเดีย ในการทำอะไรที่ยาวขึ้น

จนกระทั่ง 22 กุมภาพันธ์ 2565 (22/02/2022) รายการใหม่ ของ LodiCap Podcast ถือกำเนิดขึ้นในวัน Palindrome Date กับรายการที่จะมาเล่าข่าวสารวงการไอดอล/รีวิวเพลง และคุยไปเรื่อยเปื่อย ในรายการเดียว ทุกสิ้นเดือน นั่นคือ

LodiCap Track Review

กันยายน : ความ "ฉงน" ทำให้เกิด "อีกรายการ"

และแล้ว เราก็มีรายการแตกออกมาอีกรายการ เพราะความงงงวยจากการที่โพสต์งาน Idol Expo 4 ที่มีการลบวันที่ออกจากที่วางไว้ก่อนหน้านั้น "หายไปอย่างปริศนา" ทำให้เรา ต้องมาเล่าให้คุณฟัง กับ

LodiCap Quick Talk

พฤศจิกายน : จุดสำคัญของเรา กับความเป็น
"First in Thailand"

ในเดือนพฤศจิกายน 2565 Anchor หรือ Spotify for Podcasters เปิดให้บริการ Video Podcast ใน Spotify ทั่วโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้ทดลองใช้ก่อน ซึ่งเมื่อเราได้ทราบถึงฟังก์ชั่นนี้ จากอีเมลที่ได้รับในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ทำให้เรา ตัดสินใจเริ่มทำการเพิ่มเนื้อหาแบบ Video Podcast ลงในพอดแคสต์ของเราทันที โดยเริ่มจาก LodiCap Game of Idols EP1 เป็นต้นมา และเท่าที่เราหาข้อมูลนั้น เราอาจสามารถพูดได้ว่า การที่เราอัพโหลดวิดีโอพอดแคสต์ลงสู่ระบบในวันนั้น อาจทำให้เรา เป็น

"พอดแคสต์เตอร์ (Podcaster)
รายแรกๆ ของประเทศไทย
ที่ได้นำเสนอเนื้อหา
ในรูปแบบ Video Podcast
ผ่าน Spotify Podcast"

ซึ่งถึงแม้ว่า ถ้าเราไม่ใช่รายแรก(หากมีข้อมูลมาหักล้างในภายหลัง) แต่เราก็ถือว่า เป็นพอดแคสต์กลุ่มแรกๆ ของประเทศ ที่ใช้ฟังก์ชั่นนี้ และเรายังใช้มาจนถึงทุกวันนี้

2566/2023

การเปลี่ยนแปลงแบรนด์

การเปลี่ยนแปลงนี้ เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม โดยเริ่มจาก Jingle และสโลแกน ที่เปลี่ยนใหม่ จากไอเดียของนน คือ

Idols, Anywhere, Anytime
ไอดอล ที่ไหน เมื่อไหรก็ได้

ก่อนที่ในเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการเปลี่ยนโลโก้พอดแคสต์ครั้งที่ 2

และจากที่นน และผมได้ไปสอบถาม ทั้งในงาน และในไลฟ์แอพของทั้งเมมเบอร์ หรือพี่ทีมงาน ทำให้เรารู้สึกชื่นใจว่า 

"คนเบื้องหน้า (สมาชิกของวง)
และเบื้องหลังของวงการไอดอล
โดยเฉพาะไอดอลสายทาง
เลือก
เขาก็ฟังรายการเราเหมือนกันนะครับ"

นี่แหละ สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกขอบคุณ และมีกำลังใจในการทำงานพอดแคสต์นี้ต่อไป

มันดูเล็กน้อยสำหรับเรา

แต่สำหรับพวกเขา 
(วงการไอดอลไทย โดยเฉพาะไอดอลสายทางเลือก)

"นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่

และมากมายสำหรับพวกเขาจริงๆ"

2567/2024

การเปลี่ยนแปลงแบรนด์ครั้งสำคัญ

หลังจากใช้โลโก้เก่ามาเกือบปี ผมตัดสินใจ "เปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกครั้ง" โดยครั้งนี้ ผมได้นำหนึ่งในสิ่งที่สำคัญในการเชียร์ศิลปินที่เรารัก มาทำเป็นโลโก้ใหม่ นั่นคือ

"แท่งไฟ"

และได้มีการเปลี่ยนชื่อพอดแคสต์ให้สั้นลงคือ

"LodiCap PCST"

แต่ยังคงอ่านว่า LodiCap Podcast เหมือนเดิม

พร้อมกับสโลแกนใหม่ ที่นนคิดมาก่อนหน้านี้ และตัดสินใจ นำขึ้นมาใช้เป็นสโลแกนของพอดแคสต์ คือ

#บ้านเล็กบ้านใหญ่ก็ไอดอลไทยเหมือนกัน

นอกจากนี้ สิ่งที่มีผลต่อมาจากการเปลี่ยนแปลงของพอดแคสต์ คือ

"นับตั้งแต่นี้ไป
ชื่อรายการทุกรายการ จะไม่มีการกำกับด้านหน้าว่า
LodiCap อีกแล้ว"

และในปีนี้ ก็มีการเพิ่ม

"รายการใหม่ อีก 3 รายการ*"
(*เช็กรายการได้ ในหน้า รายการของเรา คลิกเลย!!)

ให้ทุกท่านได้รู้จัก รัก และติดตามวงการไอดอลไทย โดยเฉพาะในสายทางเลือกมากขึ้น

กับการที่ผมและนน อยากให้แฟนๆ บ้านใหญ่ ลองเปิดใจออกมาพบโลกกว้างนี้ ว่าไม่ได้มีแค่พวกเขาเพียงผู้เดียว
แต่ยังมีวงไอดอลทางเลือกอีกมากมาย ที่อยากให้ทุกคนได้ลองค้นพบ และค้นหาวงใหม่ๆ ที่อยากติดตามได้

"ฝากด้วยนะครับ"

bottom of page