
Welcome to
TRI LAXIA
Format Project
เลื่อนลงเลยสิ

ตั้งแต่รายการนั้นจบไป ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย หลังจากได้รางวัล วี่แววอื่นๆ ก็ไม่มี
แต่เรา ยังเป็น Content Creator กลุ่มพอดแคสต์ (น่าจะ)กลุ่มสุดท้ายของประเทศ ที่ยังพูดถึง
และทำคอนเทนต์เกี่ยวกับรายการดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้รายการจะจบไปเป็นปีๆ แล้ว
แต่เมื่อตอนครบ 1 ปี การบันทึกเทปรอบแรก(17 กันยายน) ผมกลับคิดอะไรได้ออกมา จึงได้ร่าง และสร้าง "ฟอร์แมต" รายการประกวด รายการใหม่
ที่ตั้งใจจะเป็นการ "สานต่อความยิ่งใหญ่" และ "ปรับปรุง" รายการประกวดวงไอดอล รายการแรกของประเทศไทย
ให้มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพการตัดสินที่ดีขึ้น รวมถึงเพื่อพัฒนาศิลปิน ให้มีผลงานคุณภาพ และ
"มีคุณธรรม พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้กับคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่"
และนี่ คือที่มาของสิ่งที่ผมสร้างขึ้นมา เรียกว่า

แล้ว...
มันคืออะไรอ่ะ?
TRI LAXIA (TRI-LAXIA แบบมีขีดก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่อ่านว่า ไทรแล็กเซียเหมือนกัน)
คือฟอร์แมตรายการประกวดศิลปินไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ป ที่ผม MynameisPongsatorn ได้คิดขึ้นมา
โดยเป็นการพัฒนาต่อยอด และปรับปรุงมาจาก LODI X NEXT IDOL (Wokrpoint Entertainment พ.ศ. 2563-2564) รายการประกวดศิลปินไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ป "รายการแรกของประเทศไทย"
ชื่อของฟอร์แมต มาจากการรวมกัน 2 คำ คือ
คำว่า Tri ที่แปลว่า สาม
และคำว่า Galaxia ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน และโปรตุเกส แปลว่า กาแล็กซี่
ซึ่งเป็นการแสดงถึง "ระบบการแข่งขัน"
ที่มีการแบ่งกลุ่มของศิลปินที่จะเข้าร่วมแข่งขัน ออกเป็น 3 กลุ่ม (3 รูปแบบวง) คือ
J-POP Idol
T-POP Idol
Girl Group
จุดหมายสำคัญของการแบ่งรูปแบบวง
ก็เพื่อแยกแยะให้ชัดเจน ในเรื่องของหลักเกณฑ์การตัดสิน
ที่การตัดสินของวงในแต่ละรูปแบบ จะไม่เหมือนกัน
ไอดอล จะเน้นการตัดสินที่ "การมอบความสนุก และความสุขให้ผู้ชม"
เกิร์ลกรุ๊ป จะเน้นการตัดสินที่ "ความสมบูรณ์แบบของการแสดง"
ซึ่งถือเป็นการ "แก้ไขปัญหาการใช้เกณฑ์การตัดสินเดียวกัน"
เพราะวงทั้ง 2 รูปแบบ ก็มีความแตกต่างในตัวของรูปแบบเอง
การตัดสินด้วยเกณฑ์เดียวกัน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ศิลปินวงไอดอลหญิง และเกิร์ลกรุ๊ปในประเทศไทย ได้มีเวทีการแข่งขันแสดงความสามารถด้านดนตรี นอกเหนือจากเวทีกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว
2.เป็นเวที ในการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาประสิทธิภาพทางการแสดง และดนตรีของ ศิลปินวงไอดอลหญิง และเกิร์ลกรุ๊ปในประเทศไทย
3.เพื่อให้ผู้ชมทั่วไปที่ไม่รู้จักวงการไอดอลหญิงของประเทศไทย ได้ทำความรู้จัก เข้าใจในระบบ และรูปแบบ ระหว่างวงไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ปอย่างถูกต้อง พร้อมกับการที่ผู้ชมทั่วไป จะได้มีโอกาสติดตามพวกเขาเหล่านั้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง
4.เพื่อให้แฟนคลับวงไอดอลหญิงในประเทศไทย ได้ร่วมชม และเชียร์ศิลปินวงไอดอลที่ชื่นชอบ และส่งให้พวกเขา ได้ก้าวไปสู่ การเป็น
“สุดยอดวงไอดอล”
เพื่อให้ศิลปินไอดอล ได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับแฟนคลับ เพื่อร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ตอบแทนคืนสู่สังคม เพื่อให้สมกับการเป็น “บุคคลที่เป็นแบบอย่างให้คนทุกวัย”
5.หาก LODI X NEXT IDOL ไม่มีการกลับมาผลิตอีก เวทีนี้ พร้อมที่จะรับช่วงต่อในการจัดการแข่งขัน ให้ต่อเนื่องต่อไป
6.นำข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้นใน LODI X NEXT IDOL มาปรับแก้ไข และต่อยอดให้ดีขึ้นกว่าเดิม
7.ให้วงการไอดอล และศิลปินกลุ่มหญิงของไทย มีเวทีที่ใช่ และเหมาะสม สำหรับวงการนี้
(เพราะหากให้ไปแข่งกับตารางอันดับของวงการ T-POP ทั้งหมด จะเสียเปรียบอย่างมาก)
แนวคิดของรายการ
เวทีนี้ ไม่ใช่ “รายการประกวดร้องเพลง” แต่นี่คือ
รายการ “ประกวดความสามารถวงไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ป” ในด้านต่างๆ
ที่ต้องการ “พัฒนาวงการไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ปของไทย”
ควบคู่กับการ “พัฒนาสังคมให้น่าอยู่”
รูปแ บบรายการเบื้องต้น
มีวงเข้าร่วมแข่งขัน 24 วง มาจากแนวดนตรี 3 แนว (ไอดอล J-POP,T-POP และ เกิร์ลกรุ๊ป) แนวละ 8 วง*
(*จำนวนวง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและงบประมาณการผลิต เริ่มต้นที่ 3 วงต่อแนวดนตรี(รวม 9 วง) แต่แนะนำว่า ให้จำนวนในแต่ละแนวเป็นเลขคู่ และสามารถขยายไปได้สูงสุด 30 วง คือ แนวละ 10 วง)
โดยทางวง จะเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกแนวทาง และพิจารณาว่า จะให้วงของตนเอง อยู่ที่สายไหน
-เน้นเอ็นเตอร์เทน อยู่ไอดอล
-เน้นเต้นดี โชว์เป๊ะ ปัง อยู่เกิร์ลกรุ๊ป
โดยแต่ละแนว จะแบ่งเป็นกลุ่ม A และ B กลุ่มละ 4 วง
เพื่อทำการแข่งขัน 2 ครั้ง ในรอบแรก
รอบแบ่งกลุ่ม
ทั้ง 24 วง จะทำการแข่งขันในรอบนี้ 2 ครั้ง
โดยครั้งแรก จะเป็นการแข่งขัน โดยการแสดงเพลงของวงตัวเอง
ครั้งที่ 2 จะเป็นการแสดงโชว์เพลงตามโจทย์บังคับของรายการ(เช่น ลูกทุ่ง/ร็อก/เพลงสากล) โดย “ห้ามใช้เพลงของศิลปินในค่ายตัวเอง”
ตัดสินโดย
- กรรมการ 4 ท่าน จากด้านต่างๆ รวมถึง กรรมการประจำแนวดนตรีนั้นๆ ด้วย
- กรรมการจากต่างกลุ่ม
(ศิลปิน/ผู้บริหารของวง/แฟนคลับของวงที่อยู่คนละแนวดนตรี)
- กรรมการพิเศษ ประจำโจทย์เพลงบังคับ (เฉพาะการแข่งขันครั้งที่ 2)
หลังจากแข่งครั้งแรก ครบ 8 วง จะมีการจัดอันดับ และจัดกลุ่มการแข่งขันใหม่
(แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เรียงตามอันดับที่ได้ เพื่อให้วงที่ทำผลงานได้ไม่ดีมากในรอบแรก มีโอกาสเข้ารอบได้)
ใช้คะแนนรวมจาก 2 ครั้ง อันดับที่ 1 ของ 2 กลุ่ม จะเข้ารอบทันที
ส่วนอันดับที่ 2 จะมีการโหวตในระยะสั้นจากผู้ชม(ประมาณ 2 ถึง 3 วัน) เพื่อหาผู้เข้ารอบ

Image by Ulli Paege from Pixabay
(ใช้ประกอบเรื่องราวเท่านั้น)

รอบชิงชนะเลิศของสาย
ทั้ง 3 วงในแต่ละกลุ่ม จะทำการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะของกลุ่ม ไปเป็นตันแทนแนวเพลงนั้นในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
โดยมีการแข่งขัน วงละ 2 โชว์
- โชว์ที่ 1 โชว์เปิดรอบ (โชว์รวม) โดยวงทั้ง 3 วง จะคิด ออกแบบ และทำการแสดง 1 เพลง ร่วมกัน
- โจทย์ที่ 2 โชว์อัพเวล แต่ละวง จะทำโชว์มินิคอนเสิร์ต 1 โชว์ 10 นาที โดยใช้เพลง 2 เพลง คือ
•เพลงของตัวเอง(ห้ามซ้ำกับรอบที่แล้ว)
•เพลง Cover ที่เลือกให้โดยแฟนๆ (Fan Request) ซึ่ง “ไม่สามารถใช้เพลงในค่ายของตัวเองได้”
โดยการตัดสิน จะมาจากผู้ชมเพียงอย่างเดียว
(เปิดและปิดโหวตในรายการ วงที่ได้คะแนนมากที่สุด จะเป็นแชมป์ของแนวดนตรีนั้น และเป็นตัวแทนของแนวดนตรี ไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ และเปิดเผยผลการโหวตหลังปิดโหวตในรายการ ทันทีที่ประกาศผู้ชนะ)
รอบโอกาสที่สอง (Second Chance)
รอบพิเศษ ที่เปิดให้กับวงที่ตกรอบไปแล้ว แต่ทำผลงานได้ดี ได้มีโอกาสในการแข่งขัน รูปแบบกติกาเดียวกับรอบชิงชนะเลิศของสาย
โดยในช่อง Youtube/Facebook/TikTok/IGTV ของรายการ จะมีการอัพโหลดวิดีโอการแสดงแยกออกมา เราจะนำยอดรับชมการแสดงใน
รอบแบ่งดาวทั้ง 2 การแสดง ของแต่ละวงที่ตกรอบ มาคำนวณ และคิดคะแนน (ใช้เวลานับ 2 สัปดาห์หลังอัพโหลด ทุกวิดีโอ)จากนั้น ในรอบชิงจ้าวกาแล็กซี่ สัปดาห์ที่ 3 จะมีการประกาศวงที่เข้ารอบแก้มือ 3 วง กาแล็กซี่ละ 1 วง (ถ้าวงนั้นเข้ารอบไปแล้ว วงลำดับรองลงมาจะเข้าแทน)
โดยการแข่งขันรอบแก้มือ จะเกิดขึ้น ในสัปดาห์ถัดมา หลังจากจบการแข่งขันรอบชิงจ้าวกาแล็กซี่ กลุ่มสุดท้าย สัปดาห์สุดท้าย
ทั้ง 3 วง จะแข่งขันโดยใช้กติกา คล้ายกับรอบชิงจ้าวกาแล็กซี่เกือบทั้งหมด(ไม่มีรอบโชว์รวม และต้องคิดโชว์ใหม่) แม้กระทั่งการโหวต
วงใด ที่ได้คะแนนโหวตมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของรอบนี้ และได้เข้ารอบชิงชนะเลิศหลักอีกด้วย

รอบชิงชนะเลิศใหญ่
(Grand Final)
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ที่ทั้ง 4 วง จะทำการแสดงเพลงใหม่ เพื่อหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว
โดยทั้ง 24 วง จะมีการเตรียมเพลงใหม่ 2 เพลง คือ เพลงช้า และเพลงเร็ว อย่างละ 1 เพลง ไว้ก่อนล่วงหน้า
(วงที่ไม่เข้ารอบ ก็จะปล่อยเพลงใหม่ออกมาร้อมกันด้วยเช่นกัน ไม่เตรียมเก้อแน่นอน)
รอบชิงชนะเลิศนี้ ทั้ง 4 วง จะแข่งขันกันใน 2 บทเพลง โดยเป็นเพลงใหม่ ทั้งเพลงช้า และเพลงเร็ว
(ซึ่งเป็นเพลงที่เตรียมไว้ล่วงหน้าสำหรับรอบชิงชนะเลิศอยู่แล้ว)
โดยแสดงในลักษณะ มินิคอนเสิร์ต 12 นาที (แสดงเหมือนมินิคอนเสิร์ต ที่เคยแสดงตามงานต่างๆ ซึ่งจะให้มี Overture ขึ้นให้ก่อนการแสดงของแต่ละวงด้วย)
การโหวตรอบนี้ จะจำกัดที่ 1 โหวต/วง/เลขหมาย หรือผู้ใช้ ในช่องทางต่างๆ
วงใด ได้คะแนนการโหวตรวมมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของฤดูกาล

ผังเส้นทางก ารแข่งขัน


Idol for
Our Social
ปัจจุบัน เราต่างให้ความหมายของไอดอลว่า “เป็นศิลปินกลุ่ม ไม่ว่าจะชาย หรือหญิง”
แต่เรา(อาจจะ)หลงลืม มองข้าม หรือละเลยว่า จริงๆ แล้ว ไอดอล มีความหมายถึง
“บุคคล ที่มีความมุมานะ มีความสามารถ
และที่สำคัญคือ เป็นบุคคลที่มีความคิด พฤติกรรม และจิตใจที่ดีงามสามารถจะเป็นแบบอย่างให้กับคนทุกวัย ทุกเพศ ในสังคม”
Idol for Our Social จึงถือกำเนิดเพิ่มขึ้นมาในฟอร์แมตของเรา
โดยเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ให้วงที่เข้าร่วม รวมถึงแฟนคลับของวงนั้นๆ ได้มีโอกาสในการได้ “ลงมือทำ” กิจกรรต่างๆ เพื่อมอบให้กับองค์กรการกุศล/ชุมชนที่ขาดแคลน เพื่อตอบแทนสังคม และอาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่อาจทำให้ไอดอล และเกิร์ลกรุ๊ปไทย มีกิจกรรมดีๆ ที่เป็นแบบอย่างให้กับสังคมได้อย่างแท้จริงบ่อยมากขึ้น
เงินรางวัลที่ทุกวงได้ จะ “ต้องถูกแบ่ง” ออกมาส่วนหนึ่ง ไปมอบให้กับองค์กรการกุศล หรือชุมชน สถานที่ หน่วยงานใด ที่ยังขาดแคลนในสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็น หรือนำไปจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากนี้ ยังจะให้มีกิจกรรมระดมทุน ทั้งการจัดกิจกรรม/การจำหน่ายสินค้า(ลักษณะ งานรวมวงไอดอล) หลังจบฤดูกาลการแข่งขัน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชม กับรายการ และวงที่เข้าร่วม รวมไปถึง เป็นการหารายได้เพิ่มเติม เพื่อให้วง ได้นำไปรวมกับเงินที่ได้รับ และนำไปมอบให้การกุศลตามที่ตั้งใจไว้
เป้าหมายที่คาดหวัง
หลังจากจบฤดูกาลของการแข่งขัน(หากผลิตจริง)
เป้าหมายที่เรา(ผู้คิดฟอร์แมต) คาดหวังไว้ มีดังนี้
1
ศิลปินได้พัฒนาศักยภาพ
วงไอดอลต่างๆ จะได้รับคำติชม และนำไปปรับปรุงกับการแสดงของวง และการทำเพลงของตัวเองในอนาคต
4
ผู้ชมได้ร่วมเชียร์ และ
มีส่วนร่วมกับรายการ
เช่น การร่วมรับชม และร่วมทำยอดวิว เพื่อส่งให้วงที่ตกรอบ ได้กลับมาแข่งใหม่ และมีโอกาสเป็นผู้ชนะของรายการ รวมถึงการโหวตให้วงที่เข้ารอบเป็นผู้ชนะ
อีกทั้งหากมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ผู้ชม แฟนๆ และใครๆ ก็สามารถมาร่วมงานได้
2
กระตุ้นการ
ให้การสนับสนุนศิลปิน
ผู้ชมที่ชมอยู่หน้าจอ จะได้รู้จัก และติดตามสมาชิก หรือวงที่ชื่นชอบต่อไป หากชื่นชอบจากรายการนี้
รวมถึง การซื้อขายสิน ค้าที่เกี่ยวข้องกับวงที่เข้าร่วม
3
สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องของรูปแบบวงต่างๆ
ผู้ฟังเพลงในประเทศไทยส่วนหนึ่ง มักมีมายาคติ และมีชุดความคิดเกี่ยวกับศิลปินกลุ่มหญิง ไม่ว่าจะไอดอล หรือเกิร์ลกรุ๊ป ว่า "ต้องสมบูรณ์แบบเท่านั้น(อาจเพราะติดภาพมาจากศิลปินแบบ K-POP)" เราจึงถือโอกาสนี้ ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ทุกคนรับรู้
5
องค์กรการกุศล/ชุมชน/มูลนิธิ ได้รับการช่วยเหลือ หรือสนับสนุน
เงินส่วนหนึ่งของรางวัลที่ได้ และการจำหน่ายสินค้า และกิจกรรมต่างๆ วงที่เข้าร่วม จะมอบให้กับองค์กรการ กุศล/หน่วยงาน หรือชุมชนที่มีความต้องการในสิ่งที่จำเป็น เพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคม และกระตุ้นให้ศิลปิน เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม